วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบนซิลลด 7 บาท

 
ลด​เบนซิน7บาท ทำได้​ทันที ทีม​เศรษฐกิจ​ลั่น
ค่า​แรง300ก่อน​สิ้น​ปี แซด​บีบ​รมต.​ทิ้ง​ส.ส. ไม่​ยอม-6เดือน​ปลด ปู​ปฏิเสธ​ไม่ได้​บังคับ“ยิ่งลักษณ์” เรียก​ทีม​เศรษฐกิจ​ถก​ร่าง​นโยบาย​รัฐบาล ย้ำ​น้อมนำ​พระราชเสาวนีย์ฯ มา​บรรจุ​ใน​นโยบาย​รัฐ “ยง​ยุทธ” ระบุ​นายกฯ​กำชับ​เด็ดขาด​ห้าม​ตกหล่น “กิตติ​รัตน์” ลั่น​นโยบาย​หาเสียง​ พท.​ทำได้​ทันที ลด​ราคา​น้ำมัน-โครงการ​รับ​จำนำ​ข้าว “ปู” เผย​มี รมต.​เตรียม​ลา​ออก​จาก ส.ส.​แกน​นำ​เพื่อ​ไทย ​เล็ง​ใช้​มาตรการ​เด็ด​บีบ รมต.​ทิ้ง​เก้าอี้ ส.ส. ไม่​ลา​ออก​อีก 6 ...

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554


                     โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

       
                         วิชาเศรษฐศาสตร์

                        ดำเนินการสอนโดย
             นายชาญวิทย์ ปรีชาพานิชย์พัฒนา

ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์ศึกษาควบคลุมถึงประเด็นต่างๆ  มากมาย  โดยพยายามอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและการแก้ไขปัญหาที่สังคมไม่พึงปรารถนาด้วยเหตุนี้  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีการศึกษาใน    ลักษณะดังนี้
๑) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  หรือระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์  เช่น  ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง  ผู้ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่าพึงพอใจของสังคมหรือไม่  เป็นต้น
๒) เศรษฐศาสตร์นโยบาย 
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร      เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
(๑)  เศรษฐศาสตร์จุลภาคหรือจุลเศรษฐศาสตร์
(๒) เศรษฐศาสตร์มหาภาคหรือมหาเศรษฐศาสตร์

อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลยภาพ

 อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
          อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
          ราคาดุลยภาพ  เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
          โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน